วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การอ่านโน้ตดนตรีสำหรับผู้เริ่มต้น


การที่จะอ่านโน้ตดนตรีได้นั้น ก่อนอื่น rejanecy* ขอแนะนำให้คุณทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าของตัวโน้ตก่อน 

ในเรื่องค่าของตัวโน้ต มันมีกฎอยู่ว่า....ถ้ามีตัวกลมอยู่ 1 ตัว แล้ว..เหตุการณ์ต่อไปนี้จะเกิดขึ้น คือ...

- ตัวขาว 1 ตัวมีค่าเท่ากับครึ่งนึงของกลม
- ตัวดำ 1 ตัวมีค่าเท่ากับครึ่งนึงของตัวขาว
- ตัวเขบ็ต1 ชั้น 1 ตัวมีค่าเท่ากับครึ่งนึงของตัวดำ
- ตัวเขบ็ต 2 ชั้น 1 ตัวมีค่าเท่ากับครึ่งนึงของตัวเขบ็ต1 ชั้น
- ตัวเขบ็ต 3 ชั้น 1 ตัวมีค่าเท่ากับครึ่งนึงของตัวเขบ็ต 2 ชั้น
- ตัวเขบ็ต N +1 ชั้น 1 ตัวมีค่าเท่ากับครึ่งนึงของตัวเขบ็ต N ชั้น...อะไรประมาณนี้

ซึ่งในทางทฤษฎีได้กำหนดให้โน้ตตัวกลม(Whole note) มีค่าเท่ากับ 4 จังหวะ ดังนั้น
โน้ตตัวขาว (Half note) มีค่าเท่ากับครึ่งนึงของโน้ตตัวกลม = 2 จังหวะ
โน้ตตัวดำ (Quarter note) มีค่าเท่ากับครึ่งนึงของโน้ตตัวขาว = 1 จังหวะ
โน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น (eighth note) เท่ากับครึ่งนึงของโน้ตตัวดำ = 1/2 จังหวะ
โน้ตเขบ็ตสองชั้น (Sixteenth note) เท่ากับครึ่งนึงของโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น= 1/4 จังหวะ

......เช่นนี้ ไปเรื่อยๆๆๆ ........................ดังภาพ

ลำดับต่อมา ขอกล่าวถึงเรื่องของจังหวะละกันนะคะ ก็ไม่รู้จะเริ่มอธิบายยังไงดี
เอาเป็นว่า....ถ้าในโน้ตดนตรีหนึ่งห้อง มีค่าเท่ากับ 4 จังหวะ (ค่าเท่ากับตัวดำ 4 ตัว หรือเท่ากับตัวขาว 2 ตัว หรือเท่ากับตัวกลม 1 ตัว) การนับจังหวะตามโน้ต ก็จะเป็นดังตัวอย่างต่อไปนี้

ขอให้ผู้อ่านบล็อกนี้ตบมือตามเครื่องหมายดอกจันทร์ "*"  ตรงแถวที่เขียนว่า Clap แล้วนับ 1 2 3 4 เป็นจังหวะหลักไปด้วยกันนะคะ...

---นี่ตัวดำ 4 ตัวพอดีก็นับ  1 2 3 4 ตามจังหวะ คุณก็ตบ 1 2 3 4 ไป




---ตัวดำ 4 ตัว ถูกแบ่งย่อยเป็นเขบ็ตหนึ่งชั้นอย่างละ 2 ตัว
เราจะนับจังหวะย่อยเป็น "และ (and)" เพิ่มมา เป็น 1 และ 2 และ 3 และ 4 และ แต่การตบมือยังมีความเร็วเท่าเดิม



--อันนี้เป็นตัวขาว ตบทีละ 2 จังหวะ ตบจังหวะที่หนึ่ง จังหวะที่สองทดไว้ในใจ ตบจังหวะที่สามใหม่ จังหวะที่สี่ทดไว้ในใจ


อันนี้ก็เป็นโน้ตที่มีค่าน้อยย่อยลงไป...การตบก็ซอยเข้าไปอีก


ถ้าหากอ่านแล้วไม่เข้าใจ คุณผู้อ่านก็ ลองดูการนับจังหวะจากวิดิโอนี้ก็ได้ค่ะ :)  พยายามลองฟังเสียงที่พี่ฝรั่งเขานับและเคาะจังหวะไปตามตัวเลยนะคะ ^^





ต่อไปเป็นเรื่องของ Time Signature เครื่องหมายกำหนดอัตราจังหวะของเพลง


Time Signature จะประกอบไปด้วยเลขสองตัว เลขบนแสดงจำนวนโน้ต ใน 1 ห้อง
เลขล่างแสดงว่า โน้ตตัวนั้นคือโน้ตตัวอะไร

กล่าวคือ เลขตัวบนแสดงให้เราทราบว่า ในห้องนึงมีโน้ตตัวล่างกี่ตัว

การดูโน้ตตัวล่างว่าเป็นโน้ตอะไรให้ ตีความหมายจากเลขตัวล่างนั้น จะบอกค่าโน้ตโดยเทียบจากตัวกลม  เช่น

เลข 4 แทนตัวดำ (เพราะว่ามันเป็น 1/4 ของตัวกลม) เลข 2 แทนตัวขาว (1/2 ของตัวกลม)  เลข 8 แทนตัวเขบ็ต 1 ชั้นเพราะเป็น 1/8 ของตัวขาว เป็นต้น


ถ้าเป็น 4/4 (ล่าง/บน)  ก็หมายถึงว่า 1 ห้องมี   ตัวดำ 4 ตัว
            2/4 _________________________  ตัวขาว 2 ตัว
            3/4_________________________   ตัวดำ 4 ตัว
            9/8________________________     ตัวเขบ็ต 1 ชั้น 9 ตัว เป็นต้นค่ะ 

ส่วนเส้นกั้นห้องก็มีไว้แบ่งเฉยๆ พอนับหมดจังหวะมันแล้ว ก็นับห้องถัดไปโดยเริ่มนับ 1 ใหม่เหมือน การนับตามตัวเลขรูปข้างล่างนี้ค่ะ

อ๊าาา  ลองหัดตบตามนี้ก่อน....


เพื่อความเข้าใจมากขึ้น ลองดูการนับจังหวะในวิดิโอนี่นะคะ คนอัดเขานับเลขพร้อมกับเสียงเครื่องดนตรีเลยค่ะ 




ต่อมาเป็นเรื่องของระดับเสียง


C อ่านว่า โด
D = เร
E = มี
F = ฟา
G = ซอล
A = ลา
B = ที

ส่วนวิดีโอที่หามานี้ก็เป็นการฝึกร้องเพลงตามโน้ตของ Kodaly  


ว่าแล้วลองอ่านโน้ต ไปตามจังหวะและค่าโน้ต แบบนี้ ถ้าคุณสามารถอ่านเสียงโน้ตและจังหวะได้ถูก จะทำให้คุณใส่คำร้อง (ร้องเพลง) ได้อย่างถูกจังหวะ ถูกทำนองและไม่เพี้ยนค่ะ ^^


ส่วนนี้ก็เป็นตัวอย่างการอ่านโน้ตเพลงในบันไดเสียง C เมเจอร์


ในสิ่งที่คุณยังต้องเพิ่มเติม ก็คือการใช้สัญลักษณ์ตัวหยุดต่างๆ แล้วก็การร้องโน้ตในบันไดเสียงอื่น ทีอาจจะมีสัญลักษณ์ # หรือ b เพิ่มเติมมา เราก็ต้องไปฟังเสียงพวกนี้และจำมาให้ดีเลยค่ะ 

อืมมม สุดท้ายนี้  Rejanecy* ก็หวังว่าหน้าเว็บนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้เกี่ยวกับการอ่านโน้ต มาก่อนน่ะคะ  หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยด้วยจริงๆ ค่ะ ต้องการเพิ่มเติมอะไรฝากคอมเม้นต์ได้เลยจร้าาา!! 

ภาพจาก http://danielcarter.hubpages.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น