วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติดนตรีอเมริกัน(ตอนที่4)



กล่าวถึงนิวยอร์ก ที่ซึ่งโด่งดังในเรื่องการเขียนโน้ตดนตรีมาก่อน ชาวอเมริกันเค้าจะเรียกนิวยอร์กว่า Tin Pan Alley เพราะในสมัยนั้น ย่านพี่แกมักจะเปิดบริษัทเขียนโน้ต ทำห้องเปียโนไว้ให้นักเขียนเพลงหลายห้อง พอนักเขียนเพลงเล่นเปียโนพอให้เสียงเล็ดลอดออกมาจากหน้าต่างได้ คนข้างนอกก็ได้ยินเสียงเปียโน ออกเป็นเสียงพวกภาชนะ หรือกระทะที่ตีกระทบกัน (Tin Pan) ในตรอก ในซอยแคบๆ (alleyway) อันเป็นที่ตั้งของบริษัทเหล่านั้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมคนอเมริกันจึงเรียกย่านนั้นว่า Tin Pan ที่ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเพลงมารช์ แรกไทม์ รวมถึงเพลงประเภทรักโรแมนติกอีกด้วย

พอ ค..1920-1940 ก็เป็นช่วงยุคทองของเพลงป๊อบอเมริกัน นักเขียนเพลงที่ดังๆได้แก่ George Gershwin, Rodgers และ Hart และคนอื่นๆ อีกมากมายซึ่งพวกที่ทำงานในอุตสาหกรรมเพลงเหล่านี้มักจะเป็นชาว Jewish ที่กำลังหางานทำในอเมริกา และหวังว่างานดนตรีจะให้โอกาสความสำเร็จในชีวิตแก่พวกเขา
ต่อมาการแสดงที่ฮิตในนิวยอร์กก็คือบอร์ดเวย์ (Broadway) บรอดเวย์ก็คือการแสดงอย่างนึงที่พัฒนามาจากการแสดงโชว์และดนตรีแบบก่อนๆ บรอดเวย์มีการแสดงดนตรีเพิ่มขึ้น มีนักร้องนักแสดงเพิ่มขึ้นกว่าร้อยคน ประดับประดาเวทีอลังการมาก การแสดงมิวสิกคอลโชว์ที่ดังระเบิดในช่วงนั้นคือ Ziegfeld Follies



การแสดงบรอดเวย์ได้พัฒนามาเรื่อยๆ ได้ใส่การร้อง การเต้น การแสดง ทำเป็นบทละครเข้าไป
นิวยอร์กกลายเป็นเมืองสำคัญในเรื่องนี้ไป และก็ยังเป็นศูนย์กลางของการแสดงหนัง ดนตรีคลาสสิก โอเปร่าและบัลเล่ต์ด้วย


แม้ว่า Jazz จะเกิดที่ นิวออร์ลีน แต่มันก็ขยายตัวไปเมืองใหญ่ๆอย่างนิวยอร์ก ชิคาโก้ แอลเอ จนได้รับการพัฒนา ให้เปลี่ยนสไตล์ไปตามกาลเวลา

ระหว่าง ค.. 1920 ชาวอเมริกันชอบดนตรี jazz และรักการเต้นกันมาก พวกโรงแรมใหญ่ๆชอบจ้างวง dance ไปแด๊นซ์กัน มีการเต้นแบบใหม่อย่าง Charleston ที่นิยมในตอนนั้น พวกผู้หญิงจะตัดผมสั้น ใส่กระโปรงสั้นแล้วก็เต้นเรียกว่า flappers

นี่ก็เป็นภาพจากหนังเรื่อง Chicago นางเอกเรื่องนี้ก็แต่งตัวแบบ Flappers ในฉากที่โชว์การแสดงบนเวที แต่จะว่าไปแล้ว..ถ้าใครอยากชมการแสดงของยุคนี้--เน้น broadway--ก็หาหนังเรื้องนี้มาดูได้เลยค่ะ รับรองดูแล้วไม่ผิดหวังแน่^^













ราชาแจ๊สคือ หลุยส์ อาร์มสตรอง






พอ 1930 อเมริกาก็เริ่มทำBig Band ด้วยดนตรี jazz แบบใหม่ ก็คือ สวิง ศูนย์กลางอยู่ที่ Harlem ,New York หัวหน้าวง Big Band ดังๆก็มี Benny Goodman,Duke Ellington, Glenn Miller
สวิงเป็นที่นิยมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
พอ Dixieland,ragtime , Swing เป็นที่นิยมแล้ว นักดนตรี jazz ขั้นสูงก็คิดดนตรีแจ๊สแบบใหม่ขึ้นมา คือเล่นมีลูกเล่นตามสไตล์ย่อยไปอีก ผสมผสานกับแจ๊สหลายๆแบบอย่างที่เราพบเห็นตามคลับ ตามบาร์
ต่อมาสไตล์แจ๊สก็ได้นำไปเล่นรวมกับพวกกีต้าร์ไฟฟ้า มันเลยเกิด electric jazz หรือ fusion ขึ้น
ช่วง ค..1920-1930 มีเทคโนโลยีเข้ามา ทางเลือกในการฟังดนตรีมีมากขึ้น ก็คือพวกวิทยุ เครื่องบันทึกเสียง แผ่นเสียง โทรทัศน์หรือเครื่องอะไรก็แล้วแต่ที่รุ่นคุณตาคุณยายเราใช้กัน

แต่ พอ ค..1930s มีการเปิดตัว juke box เครื้องเล่นเพลงหยอดเหรียญ เป็นตู้ขนาดใหญ่ให้บริการตามร้านขายยา pubบาร์ คาเฟ่


แม้ว่าคนจะมีทางเลือกในการฟังมากขึ้น แต่คนก็ยังชอบฟังเพลงสดอยู่ดี เพราะเสียงที่เป็นธรรมชาติกว่า โรแม๊นซ์กว่า
หลัง ค..1927 ไม่มีหนังเงียบแล้ว มีดนตรีประกอบหนังด้วย---พัฒนาเป็น Hollywood musical


หลังปี ค..1929 เศรษฐกิจในอเมริกาแย่ ธนาคาร บริษัทต่างๆปิดตัวลง ทั้งงานและเงินหายากกก คนจน ไร้ที่อยู่ การแสดงสดแพงมาก มักจะนิยมในหมู่คนรวย แต่พวกวิทยุ เครื่องบันทึก เครื่องเล่นเสียง ตั๋วหนังกลับถูก ทำให้แม้แต่คนจนๆก็สามารถฟังเพลง ได้ยินได้เห็น นักร้องนักแสดงดังๆได้
โปรดติดตามตอนต่อไป---


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น