วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติดนตรีอเมริกัน(ตอนที่2)

กล่าวถึงดนตรีอเมริกันยุคแรก :
ว่ากันว่าก่อนที่นายโคลัมบัสพบทวีปอเมริกาเนี่ย ก็มีชาวอเมริกันดั้งเดิมมาอาศัยอยู่เป็นเจ้าถิ่นกันบ้างแล้ว (….จะให้โคลัมบัสเจอแต่ที่ดินร้างเฉยๆก็จะวังเวงไป) ใช่แล้วหละค่ะ ..คนพื้นเมืองพวกนี้เขาก็จะมีดนตรีของเขากันอยู่แล้ว ดนตรีที่ใช้ๆกันก็จะใช้ในโอกาสต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อ ส่วนใหญ่ก็จะใช้กลองตีเล่นเต้นรำกันไปค่ะ
จากนั้นก็เป็นชาวยุโรปที่อพยพเข้ามา….ชาวยุโรปกลุ่มแรกค่อนข้างเคร่งครัดในศาสนามาก ดนตรีที่นำเข้ามาจึงเป็นลักษณะที่เรียบง่าย แนวดนตรีจะแนวๆเดียวกับพวกเพลงสวดในโบสถ์น่ะค่ะ ไม่ค่อยใช้เครื่องดนตรีกัน--
ต่อมาก็มีชาวยุโรปกลุ่มที่ไม่ได้เคร่งศาสนามากอพยพเข้ามา….ทีนี้แหละ ชาวยุโรปกลุ่มนี้ก็ได้นำดนตรีที่ต่างกับเพลงโบสถ์เข้ามาในอเมริกาละแล้วก็มีการนำเครื่องดนตรีในโบสถ์อย่างเปียโน ออร์แกนมาเล่น
นอกจากดนตรีอเมริกันในยุคแรกจะมาจากศาสนาแล้ว “ดนตรีอเมริกัน “ ก็ยังมีแหล่งที่มาอื่นๆอีก อย่างเช่น การสังสรรค์ในสังคม พวกชาวยุโรปที่เข้ามานิยมการสังสรรค์กัน มีการดื่ม การเต้นรำในแหล่งสังสรรค์ต่างๆ และยังมีการใช้ซอเป็นเครื่องดนตรีในสมัยนั้นด้วย---ต่อมาซอน่าจะได้รับการพัฒนาให้เป็นไวโอลิน^^ และนอกจากนี้ ชาวอเมริกันก็มีการจัด camp meeting เพื่อรวมชาวชนบทให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน (เพราะชาวชนบทยังไม่มีโบสถ์ ไม่มีศาสนาและห่างไกลความเจริญ..) camp meeting เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ชาวอเมริกันได้พบปะ กันอย่างสนุกสนาน camp นี้ได้เปิดโอกาสให้ชาวอเมริกันได้ปล่อยความสุขไปกับดนตรี : มีการร้องเพลงโบสถ์ ด้วยดนตรีที่มีชีวิตชีวา มีการตบมือตบเท้าตามจังหวะดนตรี




Camp นี้ จัดครั้งแรกในปี ค.. 1800 และยังคงจัดกันจนถึงทุกวันนี้ มีศิลปินคนดังหลายคนอย่าง Elvis Presley ก็ได้เรียนรู้ดนตรีจาก Camp meeting นี้


--------------------------------------------------------------------------------------------

ดนตรีของคนผิวดำ
เป็นที่รู้กันดีว่าคนผิวดำในทวีปอเมริกานั้นคือชาวแอฟริกัน พวกเขาเป็นทาสของคนผิวขาว(ชาวยุโรปผู้ซึ่งค้นพบและครอบครองอเมริกาแห่งนื้) คนผิวขาวจึงเป็นนายทาสของพวกเขา…..
นายทาสผิวขาวบางคนไม่อนุญาตให้ทาสผิวดำของเขามีกลองไว้ครอบครอง เพราะพวกเขารู้ดีว่าชาวผิวดำสามารถใช้กลองส่งสัญญาณกันได้ พวกนายทาสกลัวว่าทาสของพวกเขาจะใช้กลองช่วยเหลือกันแล้วหนีไป….และยังมีนายทาสส่วนใหญ่ที่ไม่อนุญาตให้ชาวผิวดำเต้นแบบแอฟริกัน หรือนับถือศาสนาเดิม ทาสทุกคนต้องนับถือคริสต์ศาสนาและต้องเข้าโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ พวกผิวดำเลยต้องร้องเพลงโบสถ์ของคนผิวขาว แต่พวกเขาใส่จังหวะแบบแอฟริกันเข้าไป เราเรียกเพลงแบบนี้ว่า “Spirituals” เพลงประเภทนี้ถ่ายทอดเรื่องราวความทุกข์ยากในชีวิตของชาวผิวดำที่ปรารถนาจะหนีให้พ้นจากความเป็นทาส แม้ว่าทาสไม่สามารถเต้นได้ แต่พวกเขาก็สามารถปรบมือ โยกย้ายตัวไปตามดนตรีได้ นี่ก็เป็นที่มาของ Gospel music
ในหลุยเซียน่า (เมืองในนิวออร์ลีน) นายทาสมักจะเป็นชาวฝรั่งเศส พวกนี้พี่แกใจปล้ำ ปล่อยให้ทาสของตนลุกขึ้นมาเต้นในแบบแอฟริกันได้ พวกชาวผิวดำที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวฝรั่งเศสเลยโชคดีไป อีกทั้งพี่แกก็ยังอนุญาตให้เล่นกลอง เล่นฮอร์นได้ ทำให้พวกนักดนตรีชาวผิวดำในนิวออร์ลีนได้มีโอกาสสร้างสรรค์ดนตรีแจ๊ส (Jazz) ขึ้นมาไงคะ^^
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบแจ๊สในช่วงนั้นยังคงบ้านๆอยู่ กล่าวคือ ยังไม่ใช้เครื่องดนตรีมากมายเท่ากะสมัยนี้ ชาวผิวดำยังคงสร้างริทึ่มด้วยการตบร่างกายของตนเอง อย่างการตบมือ ตบเท้า ต่อมาจึงมีการสร้างวงเครื่องเป่าของชาวผิวดำ (แต่ก็ยังอยู่ในสไตล์ฝรั่งเศส) จนกระทั่งวงเครื่องเป่า (Brass) นี้ได้นิยมเป็นธรรมดาสามัญในแถบนั้น ผู้คนในสมัยนั้นเล่นวงเครื่องเป่าในโอกาสสำคัญอย่างงานแต่ง ยันงานศพ เราเรียกดนตรีเครื่อง Brass ของชาวผิวดำนี้ว่า New Orleans Jazzแต่บางวงที่เป็นเครื่อง Brass ก็ใช้คนขาวเล่น เราก็จะเรียกอีกชื่อว่า Dixieland Jazz 



เราสามารถหาฟังดนตรีแจ๊สยุคแรกๆได้ในเมือง นิวออร์ลีน แห่งนี้





ในปี ค..1865 (หลังจากสงครามอเมริการเหนือ-ใต้) ทาสทั้งหลายก็ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ ตั้งแต่นั้นมา gospel และ jazz ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของดนตรีป๊อบในอเมริกา


--ขอจบ part นี้ไว้แค่นี้ก่อนละกันนะคะ แล้วขอสรุปอย่างคร่าวๆว่า หลังจากที่ดนตรีอเมริกันได้สร้างดนตรี jazz แล้ว "jazz" ก็ได้แตกแขนงเป็นสไตล์อื่นๆ อย่าง ragtime ,blues และก็มี rhythm and blue (R & B) นี่แหละค่ะ ที่ต่อมาได้กลายเป็น rock n roll --->> และก็กลายเป็นดนตรีร็อค Rock มาถึง pop rock --->>popular music แบบทุกวันนี้

แล้วก็พัฒนาเป็นดนตรีแบบอื่นๆ ที่เรารู้จักกันอีกมากมายอย่าง Punk , R & B แบบปัจจุบัน,
ดนตรีอิเลคโทรนิค...ดนตรีสมัยใหม่ที่ชอบใส่เอฟเฟ็กเยอะๆ ........อ่านะ... ประมาณนั้น....




Rejanecy* ก็จะพยายามปรับข้อมูลให้ดีขี้นนะคะ
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน
--โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ----

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น