วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Harpsichord 'ฮาร์ปซิคอร์ด'





ฮาร์ปซิคอร์ด (Harpsichord)


ฮาร์ปซิคอร์ด เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบารอค ประเภทเครื่องดีดโดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด
และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย โดยผู้เล่นสามารถเลือกกดบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเล่น เปียโน (Piano) แต่จะมีคีย์บอร์ดสองชั้น เหมือน ออร์แกน (Organ) ผู้เล่นไม่สามารถปรับความดังของเสียงได้ด้วยน้ำหนักของการกดคีย์บอร์ด แต่สามารถใช้กลไกอื่นช่วยในการสร้างความแตกต่างของคุณภาพเสียง (Acrustic Quality)





                                                        ส่วนประกอบของ Harpsochord




ในยุคบาโรคมีการเล่นเครื่องดนตรีนี้อย่างแพร่หลายในบทเพลงประเภทเดี่ยว และวง สำหรับประเภทเดี่ยวได้มีผู้ประพันธ์เพลงที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ บาค แฮนเดล สกาลัตตี คูโน แต่งเพลงไว้มากมาย โดยเฉพาะสกาลัตตีได้แต่เพลงประเภท โซนาตา ไว้เป็นจำนวนมาก และเป็นบทเพลงที่มีความซับซ้อนในด้านเทคนิคการเล่นอย่างสูง สำหรับประเภทวง เครื่องดนตรีนี้สามารถเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีอื่นๆได้ วงออเครสตราในยุคนั้นได้กำหนดให้มีการเล่นดนตรีประเภท บาสโซคอนทินิวโอ (Basso Continuo) ไม่ได้เฉพาะเครื่องดนตรีเบสอย่างเดียว แต่ได้มีการใส่สัญลักษณ์เป็นตัวเลขเอาไว้เพื่อให้ฮาร์ปซิคอร์ดเล่นประกอบด้วย ถ้าจะเปรียบเทียบกับการเล่นดนตรีในปัจจุบันแล้ว ฮาร์ปซิคอร์ดเป็นเหมือนกับกลองชุด ซึ่งเป็นตัวกำหนดจังหวะของผู้เล่นเครื่องดนตรีอื่น และที่สำคัญที่สุด ผู้อำนวยเพลง (Conductor) ในสมัยบาโรค ก็มักจะประจำที่ฮาร์ปซิคอร์ดด้วย ตัวอย่างเพลงที่สำคัญของเครื่องดนตรีนี้ได้แก่ บทเพลงประเภท ออเครสตราสวิท (Orchestra Suite) ของบาค และ เฮนเดล บราเดนบวกคอนแซโต (Brandenburg Concerto) โดยเฉพาะหมายเลขห้า มีความพิเศษที่บาคนำฮาร์ปซิคอร์ดมาเป็นเครื่องดนตรีโซโลเพื่อฉลองให้กับฮาร์ปซิคอร์ดตัวใหม่ของเขาด้ว





ในปัจจุบันก็ยังมีการเล่นฮาร์ปซิคอร์ดกันอยู่เมื่อมีการเล่นดนตรีบาโรคเพราะเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ และเทคนิคการเล่นที่ไม่สามารถหาเครื่องดนตรีอื่นมาทดแทนได้


เครื่องสายต่างๆที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับฮาร์ปซิปคอร์ดมีดังนี้
1. Virginals (เปียโนขนาดเล็กรูปแบบฮาร์ปซิคอร์ด)
2. Spinet (พิณ)
3. Clavicytherium (ฮาร์ปซิคคอร์ดแนวตั้งตรง)
4. Ottavino (พิณขนาดเล็กหรือเปียโนขนาดเล็ก)



ประวัติความเป็นมาของฮาร์ปชิคอร์ด

ฮาร์ปชิคอร์ด ประดิษฐ์ขึ้นในตอนปลายของยุคกลาง ช่วง ค.ศ. 1500โดยชาวเฟลมมิช (Flemish) ตระกูลรัคเคอร์ (Ruckers) ฮาร์ปชิคอร์ด ในยุคต้นๆนั้น ประกอบไปด้วยวัสดุหนาและหนักจึงทำให้เกิดเสียงที่มีพลังและโดดเด่น โดยมีแป้นดีดเพียงสองแป้นเท่านั้น ต่อมาในศตวรรษที่ 18 ฮาร์ปชิคอร์ดได้เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคเรอเนชอง และยุคบาโรค (Baroque) และได้มีการปรับปรุง เสริมแต่งเครื่องดนตรีชนิดนี้ เพิ่มขึ้นอีกหลากหลายมากมาย เพื่อให้เล่นได้เข้ากับการเล่นดนตรีร่วมสมัย เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 18 ฮาร์ปซิคอร์ด ได้ค่อยๆเลือนหายไปจากวงการดนตรี เนื่องจากได้มีความนิยมในการเล่นเปียโนมากขึ้น แต่พอมาถึงศตวรรษที่ 20 ฮาร์ปซิคอร์ดก็ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ในการแสดงดนตรีที่บอกเล่าเรื่องราวเก่าๆในเชิงประวัติศาสตร์ การแสดงร่วมสมัย (contemporary) การแสดงที่เน้นวัฒนธรรมที่เลื่องลือเก่าแก่ โดยการนำเอาเทคโนโลยีของระบบเปียโนมาใช้และมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เช่น ใช้สายเสียงที่มีเสียงหนักแน่นกว่าเดิม ใช้โลหะประกอบเป็นโครงเครื่องแทนไม้แบบเดิมๆแทน



^^ Pic Harpsichord ^^ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------









อ้างอิงรูปภาพ :



1 ความคิดเห็น:

  1. ขออนุญาตคัดลอกบทความครับ

    เว็บบอร์ด http://knowledgeofmusic.fix.gs/index.php?topic=298.0

    ตอบลบ