วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

Chant (แชนท์)

แชนท์ (Chant)



เป็นเพลงสวดของศาสนาคริสต์ในศาสนกิจต่าง ๆ ในสมัยต้นคริสต์ศตวรรษช่วง ค..200 -800 เป็นการขับร้องล้วนไม่มีดนตรีประกอบ ผู้ร้องต้องใช้เสียงแสดงออกถึงความปิติ ความเลื่อมใส ศรัทธา ในองค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อสรรเสริญสดุดี เพื่อขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้า ลักษณะของเพลงแชนท์มีทั้งการใช้คำร้อง 1 พยางค์ต่อเสียงหนึ่งหรือ 2 เสียง หรือใช้คำร้อง 1 พยางค์ต่อเสียง สองถึงสี่เสียง และที่มีเสียงแต่ละพยางค์เอื้อนยาว ในระยะแรกที่ศาสนาคริสต์ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในภาคตะวันออกของทวีปยุโรปภาษาที่ใช้ในบทสวดและใช้ขับร้องด้วยเป็นภาษากรีก ต่อมาศาสนาคริสต์ได้แพร่หลายมาทางทวีปยุโรปตอนกลางและทางทิศตะวันตก ในสมัยอาณาจักรโรมันผู้ร่ำรวยศิลปะและวัฒนธรรมเรืองอำนาจ ภาษาละตินจึงได้รับเลือกเป็นภาษาของศาสนาคริสต์ เป็นบทสวดและใช้ขับร้องตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 350 เป็นต้นมา เพลงแชนท์ที่มีชื่อเสียงใช้กันมาจนปัจจุบันคือ เกรเกอเลียนแชนท์ (Gregorian Chant) ซึ่ง เป็นเพลงแชนท์ทีพระสังฆราชเกรเกอเลียนมหาราช (Pope Gregory the Great) เป็นผู้รวบรวมแชนท์ที่มีใช้อยู่แล้ว และแต่งเพิ่มเติมขึ้นอีกแล้วจัดลำดับบทเพลงสวดให้เป็นแบบฉบับ เป็นหลักปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 600 โดยมีเนื้อร้องเป็นภาษาละติน แต่อันที่จริงแล้วเพลงแชนท์มีแบบแผนของเพลงทั้งหมดอยู่ 5 แบบด้วยกัน คือ
1. Byzantine Chant
2. Ambrosian Chant
3. Gallican Chant
4. Mozarabic Chant
5. Gregorian Chant






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น