วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ธรรมชาติของเสียง

สวัสดีคุณผู้อ่านอีกครั้งนะคะ....หลังจากการเปิดภาคเรียนที่ผ่านมา Rejanecy* ก็ได้เรียนวิชาชื่อแปลกที่เกี่ยวข้องกับดนตรีเพิ่มอีกวิชานึง  ก็คือ "สวนศาสตร์การดนตรี"  (อ่านว่า สะวะนะสาดนะคะ ไม่ใช่สวนสาด^^)

วิชานี้ก็ว่ากันไปตามที่มาของเสียง ว่าการเกิดเสียงดนตรีนั้นมีที่มาอย่างไร เอ่อ.. ก็จะเป็นความรู้ของเสียงในทาง หลักวิทยาศาสตร์น่ะค่ะ  ที่น่าทึ่งก็คือ วิชานี้ จะ...อธิบายเหตุผลว่า...ความเป็นศิลป์ในเสียงดนตรี...จะมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ในหลักวิทยาศาสตร์อย่างไร....เอ่อ ถ้ากล่าวแบบนี้แล้วไม่รู้คนอ่านจะ clear มั้ย...
ก็คือ ที่เรารู้กัยว่าวิชาดนตรี เป็นวิชาทางศิลป์  อย่างเรื่องเสียงดนตรีมันก็เป็นเรื่องของศิลป์ เพลงจะออกมาเพราะไม่เพราะอย่างไรก็ เอาอารมณ์ ความชอบส่วนตัวเราไปตัดสินเอง ไม่ม่เหตุผล ใช้ความรู้สึกว่า มันเพราะนะ... นี่ก็คือความเป็นศิลป์ของดนตรี

แต่อีกทางหนึ่งมันก็มีหลักในทางศาสตร์อยู่ว่า จะทำอย่างไรให้เกิดเสียงที่่ไพเราะ จะต้องเล่นไวโอลินแบบตำแหน่งไหน ให้มันไม่เพี้ยน...นี้ก็คือหลักของศาสตร์ ...กล่าวคือเสียงดนตรีที่จะออกมาเป็นดนตรีที่ไพเราะ คนชอบฟังได้เนี่ย มันก็ต้องใช้ศาสตร์ด้วยกันฉะนี้แล....

ว่ากันด้วยเรื่องธรรมชาติของเสียง....เข้าเรื่องเลยนะ


เสียงเกิดจาก การสร้างเสียง(Production) แล้วก็แพร่กระจาย(Propagation)  แล้วก็มีการรับรู้(perception)เกิดขึ้น

เสียง มี 3 อย่างด้วยกัน
คือ เสียงพูด - การสื่อสารธรรมดาทั่วไป
      เสียงที่ถ่ายทอดอารมณ์ ได้แก่ เสียงจากธรรมชาติ(ลมพัด ฝนตก แมวร้อง) และเสียงดนตรี (คนสร้างขึ้น)
     เสียงรบกวน ก็คือเสียงที่เราไม่พึงพอใจทั้งหลาย...เป็นเสียงทีี่ไม่มีการจัดระเบียบ


เสียง เกิดจากการถ่ายทอดโมเลกุล ผ่านตัวกลางการเคลื่อนที่(ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ) จะไม่เคลื่อนที่ผ่านสุญญากาศ ถ้าไม่มีอากาศ ไม่มีโมเลกุล ก็จะไม่เกิดเสียง

ถ้าเป็นแสงมันจะต่างกัน แสงไม่ต้องการสื่อกลางเหมือนเสียง แพร่กระจายผ่านแม่เหล็กไฟฟ้าได้

สรุป เสียง ต้องการตัวกลาง และเป็นคลื่นตามยาว ใช้การสั่นสะเทือนเชิงกล

มาดูกันเรื่องของคลื่น

ประกอบด้วยคลื่นแสง(ไม่ต้องการสื่อกลางในการเคลื่อนที่) ผ่านสุญญากาศได้ ก็พวก คลื่นวิทยุ X-ray microwaves etc.....

และคลื่นเสียงเชิงกล แบ่งเป็นคลื่นตามขวางและคลื่นตามยาว   พวกนี้ผ่านสุญญากาศไม่ได้และต้องการสื่อกลาง

เรามาดูคลื่นตามยาวกันนะคะ ^^

การเคลื่อนที่ของคลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) จะเป็นแบบนี้อ่า


Photobucket


ถ้าเราสังเกตการเคลื่อนที่ของโมเลกุลแล้ว (ลองเพ่งลูกดำๆนี่ซักลูกนึงนะคะ) จะพบว่าโมเลกุลเคลื่อนที่วิ่งกลับไปกลับมาเฉยๆ มันไม่ได้ไปไหนเลย  ส่วนคลื่นตามขวาง (Transverse Wave) ก็จะมีลักษณะการเคลื่อนที่ของโมเลกุลที่แตกต่างไปอีกแบบ คือมันจะเคลื่อนที่ขึ้น-ลงค่ะ สังเกตได้จากรูปถัดมา


Photobucket,เสียง,คลื่นเสียง,เครื่องเสียงรถยนต์,เครื่องเสียงกลางแจ้ง,เครื่องเสียงบ้านหม้อ,เครื่องเสียงบ้าน,คลิปเสียง,เสียงใต้,รถติดเครื่องเสียง,เสียงสวดมนต์,โปรแกรมบันทึกเสียง,ระบบเสียง,โปรแกรมเสียง,การ์ดเสียง,โปรแกรมเปลี่ยนเสียง,โปรแกรมตัดเสียง,โปรแกรมแปลงเสียง,opera,web browser,firefox,opera thai,opera guitar,คาบูกิ,hyundi sonata sport,new hyundi sonata

ส่วนการถ่ายทอดพลังงานของคลื่นตามยาวและตามขวาง เมื่อมันถูกส่งพลังงานจากแรงกระตุ้นแล้ว ก็จะเป็นในลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ค่ะ




รูปแบบการเคลื่อนที่ของพลังงานจะต่างกันทั้งๆที่ได้รับพลังงานเท่ากัน!

ทั้งหมดนี้ก็เป็นลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นตามยาวและตามขวางนะคะ แต่ก็จะมีในคลื่นน้ำที่มันไม่ได้จัดแบ่งการเคลื่อนที่ของคลื่นว่าเป็นคลื่นลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง แต่มันจะเคลื่อนที่โดยใช้ลักษณะทั้งสองแบบ

Photobucket

สังเกตจากรูปนี้ได้ค่ะ โมเลกุลของคลื่นน้ำจะเคลื่อนที่กลับไปมา แล้วก็เคลื่อนที่จากบนลงล่างด้วย :)

ขอจบแค่นี้ก่อนละกันค่ะ ต่อไปจะมาลงลึกในเรื่องของคลื่นเสียงล่ะกันนะคะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น