วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คลื่นเสียง

จากที่เรารู้จักลักษณะของคลื่นตามยาว ตามขวางกันแล้ว ทีนี้มาดูส่วนประกอบของคลื่นจาก e-learning ของเว็บ http://www.northeducation.ac.th กันค่ะ :) ขออนุญาตคัดลอกข้อมูลมาเลยล่ะกันนะคะ


ส่วนประกอบคลื่น มีดังนี้จ้า...



1. สันคลื่นหรือยอดคลื่น (crest) คือ ตำแหน่งที่มีการกระจัดบวกมากที่สุดเหนือระดับปกติ
2. ท้องคลื่น (trough) คือ ตำแหน่งที่มีการกระจัดลบมากที่สุดต่ำกว่าระดับปกติ
3. แอมปลิจูด (amplitude ; A) คือการกระจัดสูงสุดของคลื่นจากระดับปกติ หรือความสูงของสันคลื่น หรือความสูงของท้องคลื่นจากระดับปกติ
4. ความยาวคลื่น (waveleght ;l) คือ ความยาวของคลื่น 1 ลูกคลื่นหรือเป็นระยะห่างจากสันคลื่นถึงสันคลื่นที่ติดกัน หรือระยะห่างจากท้องคลื่นถึงท้องคลื่นที่ติดกัน
5. คาบ (period ; T) คือ เวลาที่จุดใด ๆ บนตัวกลางสั่นครบ 1 รอบ คาบมีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ
6. ความถี่ (frequency ; f) คือ จำนวนลูกคลื่นที่เกิดขึ้นใน 1 หน่วยเวลาความถี่มีหน่วยเป็นลูกคลื่นต่อวินาทีหรือรอบต่อวินาที หรือ Hertz (Hz)




เพื่อนๆคนไหนต้องการศึกษาการคำนวณหาค่าความยาวคลื่น ความเร็ว แอมพลิจู คาบ ความถี่ ก็สามารถเข้าไปดูที่ลิงค์นี้ได้ค่ะ http://www.northeducation.ac.th/elearning/ed_sc30/chap06/sc6110_2.html


ระดับเสียง

Wikipedia ได้ให้ความหมายของ ระดับเสียง (pitch)ว้ว่าหมายถึง เสียงสูงเสียงต่ำ สิ่งที่ทำให้เสียงแต่ละเสียงสูงต่ำแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือนของวัตถุ วัตถุที่สั่นเร็วเสียงจะสูงกว่าวัตถุที่สั่นช้า โดยจะมีหน่วยวัดความถี่ของการสั่นสะเทือนต่อวินาที เช่น 60 รอบต่อวินาที, 2,000 รอบต่อวินาที เป็นต้น และนอกจาก วัตถุที่มีความถี่ในการสั่นสะเทือนมากกว่า จะมีเสียงที่สูงกว่าแล้ว หากความถี่มากขึ้นเท่าตัว ก็จะมีระดับเสียงสูงขึ้นเท่ากับ 1 ออกเตฟ (octave) ภาษาไทยเรียกว่า 1 ช่วงคู่แปด


ส่วนความเข้มเสียง (Intensity) (ความเบาดัง)

ทางดนตรีก็มีการจัดความเข้มของเสียงเป็น dynamic ด้วยค่ะ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น